การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คอนกรีต
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมีหลากหลายประเภท ทั้งคอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป และคอนกรีตสำหรับงานที่มีคุณสมบัติพิเศษ ดังนั้นก่อนทำการสั่งคอนกรีต เราควรมีความเข้าใจในลักษณะและประเภทของการใช้งาน เพื่อให้ ได้คอนกรีตที่เหมาะสมกับลักษณะงานดังนี้
ประเภท | คุณสมบัติ | ขั้นตอนการทำงาน | ข้อแนะนำสำหรับคอนกรีตทุกชนิด |
คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปและงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม เช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว งานถนน พื้นโรงงานและลานจอดรถ |
คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป (7.5 +/- 2.5 ซ.ม) และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม (10.0 +/- 2.5 ซ.ม) โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำ ต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัวตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้นรวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น | ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่ายุบตัวขนาดต่างๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด | 1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต, คอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้าหรือค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง
2. ในระหว่างเทคอนกรีตควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้ง การทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสมเพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3.หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้วควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องการพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ 4.สำหรับโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความทึบน้ำมากกว่าปกติ ไม่ควรผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน และควรทำคอนกรีตให้แน่นเพื่อให้คอนกรีตมีความสม่ำเสมอ เป็นเนื้อเดียวกัน และการบ่มคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีต มีการพัฒนากำลังอัดได้อย่างสมบูรณ์ ลดความพรุนภายในเนื้อคอนกรีต |
คอนกรีตกันซึม (Waterproof Concrete) คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการป้อนกันการซึมผ่านของน้ำมากกว่าคอนกรีตปกติ เช่น บ่อเก็บน้ำ สระน้ำ |
คอนกรีตชนิดนี้เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีความทึบน้ำมากกว่าคอนกรีตปกติโดยมีค่าการซึมผ่านของน้ำในระดับต่ำตามมาตรฐาน DIN 1048 ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยาประเภทกันซึม ลดประมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสมและหน่วงการก่อตัวตามมาตรฐาน ASTM C 494 | มีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 240-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน และค่าความยุบตัวของคอนกรีตขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า | |
คอนกรีตสำหรับพื้น Post tension คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่ใช้งานpost tension หรือ พื้นคอนกรีตไร้คาน |
คอนกรีตสำหรับงานเทพื้น post tension ออกแบบให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการกำลังอัดในช่วงต้นสูงในขณะที่ต้องคงคุณสมบัติที่ดีในด้านอื่น เช่น ค่าการยุบตัว ระยะเวลาการก่อตัว ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมสารลดปริมาณน้ำอย่างมากตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขึ้นอยู่กับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวที่ต้องการการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต จะแตกต่างจากคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป เนื่องจากคอนกรีตสำหรับ งานคอนกรีตอัดแรงจำเป็นต้องมีการพัฒนากำลังอัดในช่วงอายุ 3-7 วัน ซึ่งสูงกว่าคอนกรีตปกติเพื่อให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง | มีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 240-300 กก./ ตร.ซม. ที่อายุ 3 วัน และค่าความยุบตัวของคอนกรีตขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า | |
คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะขนาดเล็ก | คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดเล็กโดยมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัวตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้นไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีตรวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดเล็กเนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่า คอนกรีตโดยทั้วไป |
คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบเพื่องานเทเสาเข็มเจาะขนาดเล็กโดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210-450 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 7.5 -12.5 ซม. | |
คอนกรีตงานเข็มเจาะใหญ่ | คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดใหญ่ โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยสารหน่วงการก่อตัว และลดปริมาณน้ำในส่วนผสม ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 4 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป | คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื้อคอนกรีตถูกออกแบบมาให้มีค่าความยุบตัวสูง และไม่แยกตัวขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าคอนกรีตปกติ ซึ่งมั่นใจได้ว่าเสาเข็มเจาะใหญ่แต่ละต้นจะมีคุณภาพดีตั้งแต่เริ่มต้นจน กระทั่งจบงาน โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 280– 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 17.5-22.5 ซม. | |
คอนกรีตทับหน้า (Topping Concrete) | คอนกรีตประเภทนี้ มีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบให้แตกต่างจากคอนกรีตปกติ โดยออกแบบให้ส่วนผสมมีส่วนละเอียดมากกว่าคอนกรีตปกติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องหินโผล่ที่ผิวหน้าคอนกรีต ในขั้นตอนของการขัดผิวหน้าคอนกรีต โดยใช้หินขนาด 3/8 นิ้ว | คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานเท Topping โดยรับรองค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนดที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าการยุบตัวสำหรับงานทั่วไป และงานคอนกรีตที่เทด้วยปั๊ม | |
คอนกรีตห้องเย็น (Freezing Room Concrete) | คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบสำหรับโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานได้ รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น | คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงาน เช่น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น สำหรับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า | |
คอนกรีตแข็งตัวเร็ว (Fast Setting Concrete) | เป็นคอนกรีตที่ถูกพัฒนามาเพื่องานที่ต้องการกำลังอัด ที่กำหนดในช่วงระยะสั้น โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้จะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่เร็วกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้คอนกรีตสามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้ดี | คอนกรีตประเภทนี้ใช้สำหรับงานซ่อมแซมผิวถนน ที่ต้องการกำลังอัดสูงในช่วงต้น งานที่ต้องการเปิดหน้างานเร็ว งานหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เป็นต้น โดยทั่วไปคอนกรีตชนิดนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถพัฒนากำลังอัดได้ตามค่าที่ ต้องการภายในระเวลา 8-24 ชั่วโมง | |
คอนกรีตกำลังอัดสูง(Super Plasticizer Concrete) | คอนกรีตกำลังอัดสูงเป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้รองรับงานที่ต้องการกำลัง อัดสูงกว่า450 กก./ตร.ซม ที่อายุ 28 วัน โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก หรือ น้ำยาลดน้ำอย่างมากและหน่วงการก่อตัวของคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C 494 | คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับงานอาคารสูง งานโครงสร้างขนาดใหญ่หรืองานใดๆ ที่ต้องการกำลังอัดสูง ภายหลังจากการเทคอนกรีต ควรให้มีการบ่มคอนกรีตด้วยน้ำที่เพียงพอเพื่อให้ได้กำลังอัดสูงตามที่ต้องการ |
(ความรู้เรื่องคอนกรีตสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.coe.or.th/e_engineers/knowledge_all.php?type=1)